เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines)
คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล
ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหาข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index)ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว
ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์
- - http://www.altavista.com - http://www.excite.com
- http://www.hotbot.com - http://www.magellan.com
- http://www.webcrawler.com
ไดเร็กทอรี (Directories)
Search Engines แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบ เสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ URL นั้น ๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com - http://www.siamguru.com
เมตะเสิร์ช (Metasearch)
Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช
- http://www.dogpile.com
- http://www.profusion.com
- http://www.metacrawler.com
- http://www.highway61.com
- http://www.thaifind.com
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม
Yahoo
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่เป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน Yahoo แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา
Altavista
เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่น โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล
Excite
เป็น Search Engines ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย
Hotbot
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ
Go.com
เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News) นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ
Lycos
ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ
Looksmart
เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมาะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต
WebCrawler
เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น
Dog pile
เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว
Ask jeeves
เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม Ask แล้วAsk jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ (Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา
ProFusion
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search Engines ที่ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search Engines ใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
Siamguru.com
siamguru.com ภายใต้สมญานาม “เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine)เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
การใช้งาน Search Engines
การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล
การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัวข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ
เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้างเทคนิคและวิธีการที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่
1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว
3. อย่าค้นหาคำที่เราต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันด้วย
4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3Dแต่ถ้าต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย (“ ”)
5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน
6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)
7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา
8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการค้นหา เช่น การใช้ an หรือ the นำหน้า
9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด
10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย
11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า“Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้
12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“ ”) เพราะจะทำให้Search Engines มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน
13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละ Search Engines ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บSearch Engines นั้น ๆ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วย
การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explore
1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง คลิกที่ปุ่มCustomize
3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีSearch Engines ต่าง ๆ ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
4.คลิกที่ปุ่ม OK
5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา
6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) ป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output
Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มีความหมาย
ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”(RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิมเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker) เป็นต้น
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)
นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์ เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ
โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่
ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ
ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย.
เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด)
ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป
จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา
ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล
จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย
และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
พื้นฐานการใช้งาน Search
1 พื้นฐานการใช้งาน Search
ส่วน ค้นหาข้อมูล (Search) เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใด แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP) ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ แสดงได้ดังรูปที่ 1
รูปที่1.1 ก แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com เพื่อใช้ป้อน Keyword
รูปที่ 1.1 ข แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com
โดย ทั่วไป หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
Internal Search Engine
หรือ “Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล เช่น ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า “earring” เมื่อกดปุ่ม Search โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า “earring” ออกมาแสดงผล ดังรูปที่ 1.2
หมายเหตุ Internal Search Engine มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียง หน้าเดียวได้ ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name) และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการ ค้นหาได้
รูปที่ 1.2 ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com
External Search Engine
หรือ “Web Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ค้นหาเว็บ รูปภาพ หรือข่าวสาร เป็นต้น External Search Engine จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว จะต้องเก็บชื่อ URL หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง ดังรูปที่ 1.3 สำหรับ External Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ Google, Yahoo และ MSN Search
รูปที่ 1.3 ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com
สำหรับ หน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท จะประกอบด้วย รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้ และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก) เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์ ส่วน Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL
นอก จากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine ทั้งสองประเภทแล้ว จะพบว่า External Search Engine สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface) ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่า นั้น เช่น ช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา และตังเลือกประเภทการค้นหา เป็นต้น ดังรูปที่ 1.4 การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมาก นัก
รูปที่ 1.4 ก แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com
รูปที่ 1.4 ข แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com
ใน ขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส ตำแหน่งการจัดวาง และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป) และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม) เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
รูปที่ 1.5 ก แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com
รูป ที่ 1.5 ข แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้า เว็บwww.platinumpda.com
ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine ที่ดี สิ่งสำคัญประการแรก คือ ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ นั่นคือ ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา ป้ายคำอธิบาย รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
พื้นฐานการใช้งาน Search
1 พื้นฐานการใช้งาน Search
ส่วน ค้นหาข้อมูล (Search) เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใด แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP) ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ แสดงได้ดังรูปที่ 1
รูปที่1.1 ก แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com เพื่อใช้ป้อน Keyword
รูปที่ 1.1 ข แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com
โดย ทั่วไป หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
Internal Search Engine
หรือ “Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล เช่น ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า “earring” เมื่อกดปุ่ม Search โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า “earring” ออกมาแสดงผล ดังรูปที่ 1.2
หมายเหตุ Internal Search Engine มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียง หน้าเดียวได้ ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name) และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการ ค้นหาได้
รูปที่ 1.2 ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com
External Search Engine
หรือ “Web Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ค้นหาเว็บ รูปภาพ หรือข่าวสาร เป็นต้น External Search Engine จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว จะต้องเก็บชื่อ URL หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง ดังรูปที่ 1.3 สำหรับ External Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ Google, Yahoo และ MSN Search
รูปที่ 1.3 ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com
สำหรับ หน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท จะประกอบด้วย รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้ และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก) เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์ ส่วน Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL
นอก จากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine ทั้งสองประเภทแล้ว จะพบว่า External Search Engine สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface) ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่า นั้น เช่น ช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา และตังเลือกประเภทการค้นหา เป็นต้น ดังรูปที่ 1.4 การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมาก นัก
รูปที่ 1.4 ก แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com
รูปที่ 1.4 ข แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com
ใน ขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส ตำแหน่งการจัดวาง และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป) และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม) เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
รูปที่ 1.5 ก แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com
รูป ที่ 1.5 ข แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้า เว็บwww.platinumpda.com
ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine ที่ดี สิ่งสำคัญประการแรก คือ ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ นั่นคือ ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา ป้ายคำอธิบาย รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
- พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ , กล้องดิจิตอล , กล้องถ่ายภาพวีดีทัศน์, เครื่องเอ็กซ์เร
- รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
- พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การประยุกต์ใข้่เทคโนดฯลีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ , กล้องดิจิตอล , กล้องถ่ายภาพวีดีทัศน์, เครื่องเอ็กซ์เร
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทผแม่เหล็ก,จานแม่เหล็ก,จานแสงหรือแสงเลเซอร์,บัตรเอทีเอ็ม
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์,จอภาพ,พลอตเตอร์
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์,วิทยุกระจายเสียง,โทรเลข,เทเล็กซ์,และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในธุรกิจ และทางการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
- ระบบเอทีเอ็ม
- การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
- การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
การใช้อินเตอร์เน็ต
งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา
ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบทำรายงาน
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
- การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
- บทเรียนคออมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)sinv
(Computer Aided Instruction )
- วีดิทัศตามอัธยาศัย (video on Demand -(video on Demand-VOD)
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
--ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศีกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอ ร์ อินเตอร์เน็ต ( Internet ) หรือ อินทราเน็ต (
Intranet ) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามคว ามสามารถและความสนใจของตน
โดยเนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย
ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดืโอและมัลติมีเดียอื่นๆ
จะถูกส่งไปยังผู้เรืยนผ่านเว็บบ ราวเซอร์ ( Web Browser )
โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วม ชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่า งกันได้
เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรีย นปกติโดยอาศัยเครื่องมือการติดต ่อสื่อสารมี่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุ กเวลาและทุกสถานที่ ( Learning for all : anyone ,
anywhere and anytime )
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Intruction - CAI )
คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่นำเสนอ สารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้ างและพิจรณามาเป็นอย่างดี
โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด
การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลั บให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรี ยนได้ตามระดับความสามารถของตนเอ ง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรู ปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง
หรือ ทั้งภาพทั้งเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการ เบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์,วิทยุกระจายเสียง,โทรเลข,เทเล็กซ์,และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในธุรกิจ และทางการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
- ระบบเอทีเอ็ม
- การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
- การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
การใช้อินเตอร์เน็ต
งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา
ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบทำรายงาน
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
- การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
- บทเรียนคออมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)sinv
(Computer Aided Instruction )
- วีดิทัศตามอัธยาศัย (video on Demand -(video on Demand-VOD)
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
--ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศีกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Intruction - CAI )
คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่นำเสนอ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน คื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่าน กระบวนการสร้างและพิจารณามาเปแ็ยอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลตืมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/ทั้ง ภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมารจาก การนำหลักการเบื้องต้น ทางจืตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ
โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้(Learning Behavior) ทฤษฎี การเสริมแรง (Reinforcemment Theory) ทฤษฎีการวางเงือนไขปฎิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธืระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองแลบะการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียน ไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการเรียนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีผลย้อนกลับทันที และเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหม่าะสมตามความต้องการและความสามารถของตนเอง
วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Vioeo on Demand - VDO)
คือ ระบบการเรียกดู ภาพยนต์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนต์หรือข้อมูลภาพเคลือนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า "To view what one wants,when one wants" โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครื่ีอข่ายสื่อสาร ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลือนไหว ได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวีดีโอนั้นๆ โดยสามารถย้อนกลับ(Rewind) หรือรอไปข้างหน้า(Forward)หนือหยุดชั่วคราว(Pause)ได้เปรียบเสมือนการดูวีดีดอที่บ้านนั่นเอง ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้ัองดูข้อมูลดียวกัน กล่าว คือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-biooks)
คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนัง
สือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฎิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน ข้อความต่างๆ ตัวอย่าง เช่น ออร์แกไนเซอร์ แบบพกพาพีดีเอ เป็นต้น
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
สือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฎิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน ข้อความต่างๆ ตัวอย่าง เช่น ออร์แกไนเซอร์ แบบพกพาพีดีเอ เป็นต้น
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่าน เครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต
คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คือ
1. การจัดการทรัพยกรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3. บรรณารักษ์หรือบุคคลากรของห้องสมุดและสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้ โดยทางอิเล็กทรอนิดส์
4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศ สู่ผู้ใช้โดยทาง
อิเล็กทรอนิกส์
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกาาค้นคว้า
สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านสุขภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ
และวิเคราะห์และสามารถนำไปใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT)
เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล
และการแสดงผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบ หลัก 2 ส่วนคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Telecommunication Technology)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
- เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลางหรืซีพียู : cpu
(Central Processing Unit)
3. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
4. หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Storage Unit)
- เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่หน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแว์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
2. ซอฟต์ประยุกต์ (Application Software)
คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2 เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไปเช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผนฯ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียม ทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3.ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมาก ขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนันสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของ โอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกาาค้นคว้า
สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านสุขภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ
และวิเคราะห์และสามารถนำไปใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT)
เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล
และการแสดงผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบ หลัก 2 ส่วนคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Telecommunication Technology)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
- เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลางหรืซีพียู : cpu
(Central Processing Unit)
3. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
4. หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Storage Unit)
- เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่หน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแว์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
2. ซอฟต์ประยุกต์ (Application Software)
คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2 เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไปเช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
- แผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผนฯ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียม ทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3.ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมาก ขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนันสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของ โอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
Information and Communication Technology for Teachers
รหัส PC54504 3(2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก
ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกการปฏิบัติ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทศโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
Assignment 1
1. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ตามความเข้าใจของนักเรียนเอง
ตอบ - เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ การสื่อสารหรือเครื่อข่าย
โทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกันและนำไปใช้ในการส่งและรับข้อมูลและมัลติมิเดียเกี่ยวกับความ
รู้หรือเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
- เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อมูลของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ประกอบด้วยผู้ส่งสารหรือแหล่งกำเนิด ช่องทางการส่งข้อมูล
2. Cyber Bully หมายถึงอะไรหรือปรากฎการณ์ใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ - การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของ
คนหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุด
ว่ายน้ำในวันพักผ่อนจากเฟชบุ๊คของเจ้านายไปเพยแพร่ เป็นต้น
ตอบ - เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ การสื่อสารหรือเครื่อข่าย
โทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกันและนำไปใช้ในการส่งและรับข้อมูลและมัลติมิเดียเกี่ยวกับความ
รู้หรือเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
- เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อมูลของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ประกอบด้วยผู้ส่งสารหรือแหล่งกำเนิด ช่องทางการส่งข้อมูล
2. Cyber Bully หมายถึงอะไรหรือปรากฎการณ์ใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ - การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของ
คนหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุด
ว่ายน้ำในวันพักผ่อนจากเฟชบุ๊คของเจ้านายไปเพยแพร่ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)