เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ
โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่
ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ
ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย.
เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด)
ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป
จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา
ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล
จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย
และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย
พื้นฐานการใช้งาน Search
1 พื้นฐานการใช้งาน Search
ส่วน
ค้นหาข้อมูล (Search)
เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล
สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูล
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด
และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก
ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย
โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword
ที่ผู้ใช้ป้อน แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine
Results Pages : SERP) ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ
แสดงได้ดังรูปที่ 1
รูปที่1.1 ก แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com เพื่อใช้ป้อน Keyword
รูปที่ 1.1 ข แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com
โดย
ทั่วไป หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว
ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine
ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
Internal Search Engine
หรือ
“Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ
ยกตัวอย่างเช่น E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก
ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword
ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล เช่น ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า
“earring” เมื่อกดปุ่ม Search
โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า
“earring” ออกมาแสดงผล ดังรูปที่ 1.2
หมายเหตุ Internal Search
Engine มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า
และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียง
หน้าเดียวได้ ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name)
และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง
Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล
อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการ
ค้นหาได้
รูปที่ 1.2 ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com
External Search Engine
หรือ
“Web Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์
หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหา
ออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ค้นหาเว็บ รูปภาพ หรือข่าวสาร เป็นต้น
External Search Engine จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search
Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ
Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า
เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว จะต้องเก็บชื่อ URL
หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา
โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL
ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง ดังรูปที่ 1.3 สำหรับ External
Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ Google, Yahoo และ
MSN Search
รูปที่ 1.3 ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com
สำหรับ
หน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท จะประกอบด้วย
รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้
และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก)
เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine
จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์ ส่วน
Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL
นอก
จากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
ทั้งสองประเภทแล้ว จะพบว่า External Search Engine
สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า
ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง
ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface)
ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย
ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่า
นั้น เช่น ช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา และตังเลือกประเภทการค้นหา
เป็นต้น ดังรูปที่ 1.4
การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน
จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมาก
นัก
รูปที่ 1.4 ก แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com
รูปที่ 1.4 ข แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com
ใน
ขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine
จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส
ตำแหน่งการจัดวาง และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป
ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์
ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป)
และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม)
เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine
และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine
ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
รูปที่ 1.5 ก แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com
รูป
ที่ 1.5 ข แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine
ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้า
เว็บwww.platinumpda.com
ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine
ที่ดี สิ่งสำคัญประการแรก คือ
ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ นั่นคือ
ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น
ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล ปุ่มกดค้นหา ป้ายคำอธิบาย
รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย
ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น